วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 10

งานบริการห้องสมุด
หน่วยงานส่งเสริมวิชาการของมหาวิทยาลัย ทาหน้าที่เป็นศูนย์บริการสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า และวิจัย ซึ่งปัจจุบันห้องสมุดมีบริการ ดังนี้
1. บริการยืม – คืนหนังสือ
2. บริการตอบคาถามและช่วยการค้นคว้า
3. บริการวารสารและหนังสือพิมพ์
4. บริการจองหนังสือ
5. บริการหนังสือสารอง
6. บริการโสตทัศนวัสดุ
7. บริการยืมระหว่างห้องสมุด
8. บริการอินเทอร์เน็ต
9. บริการปริ้นท์เอกสาร
ที่มาhttp://www.chanthaburi.buu.ac.th/~libjan/documnts/handbook2554.pdf

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 9

ระเบียบและมารยาทการใช้ห้องสมุด
ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ เป็นหน่วยงานบริการ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้จำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้รับบริการ ห้องสมุดจึงต้องมีระเบียบ เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติ อันจะทำให้เกิดความเสมอภาค ในขณะเดียวกัน ผู้รับบริการก็จะต้องมีมารยาท ให้เกียรติแก่สถานที่ด้วย มารยาทในการใช้ห้องสมุดจึงเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้เข้าใช้บริการ เพื่อให้บรรยากาศในห้องสมุดมีความเรียบร้อยน่าเข้าใช้บริการ ความหมายของระเบียบและมารยาทการใช้ห้องสมุด สรุปได้ดังนี้
ระเบียบ หมายถึง ข้อบังคับที่จะให้ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้สังคมอยู่อย่างสงบสุขและเป็นธรรม ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับโทษ
มารยาท หมายถึง ข้อพึงปฏิบัติ โดยเกิดจากสำนึกรู้จักการควรไม่ควรของผู้นั้นเอง
ระเบียบและมารยาทการใช้ห้องสมุด หมายถึง ข้อบังคับที่จะให้ปฏิบัติหรือข้อพึงปฏิบัติ โดยเกิดจากจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติตนของผู้ใช้บริการ เพื่อความสงบเรียบร้อยเมื่อเข้าใช้บริการห้องสมุด

ที่มาhttp://www.nmk.ac.th/maliwan2/page/5rulesource.html

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 8

ความสำคัญของห้องสมุด
การศึกษาในปัจจุบัน มุ่งให้ผู้เรียนมีโอกาสค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ มาประกอบความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในชั้น ผู้เรียนจะต้องหาความรู้เพิ่มเติมโดยการเข้าใช้ห้องสมุด เพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มขึ้น ความสำคัญของห้องสมุดอาจประมวลได้ ดังนี้
1. ห้องสมุดเป็นที่รวมของทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถค้นคว้าหาความรู้ทุกสาขาวิชา ที่มีการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษานั้น

2. ห้องสมุดเป็นที่ที่ทุกคนจะเลือกอ่านหนังสือ และค้นคว้าหาความรู้ต่างๆได้โดยอิสระ ตามความสนใจของแต่ละบุคคล
3. ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดพอใจที่จะอ่านหนังสือต่างๆโดยไม่รู้จักจบสิ้น เป็นการช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
4. ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีความรู้ทันสมัยอยู่เสมอ
5. ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีนิสัยรักการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
6. ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
7. ห้องสมุดจะช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดรับรู้ในสมบัติสาธารณะ รู้จักใช้และระวังรักษาอย่างถูกต้อง
ที่มา http://www.nmk.ac.th/maliwan2/page/4_0librarysource.html

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 7

วัตถุประสงค์ของห้องสมุด

1. เพื่อการศึกษา
คือ สถานที่ ให้การศึกษาแก่คนทุกเพศ ทุกวัย ทึกชนชั้น หรือระดับความรู้
2. เพื่อข่าวสารและความรู้ทั่วไป
เป็นสถานที่ให้คำตอบกับปัญหาต่าง ๆ ได้และบริการข่าวสาร การเคลื่อนไหวของ
เหตุการณ์ต่าง ๆ
3. เพื่อการค้นคว้าวิจัย
ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางที่จะช่วยในการค้นคว้าวิจัย เพื่อความกว้าหน้าทางวิชาการใหม่ ๆ อันเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ
4. เพื่อความจรรโลงใจ
หนังสือบางเล่มอ่านแล้วนอกจากจะให้ความรู้แล้วยังก่อให้เกิดความสุขทางจิตใจอาจเป็นแรงบันดาลใจให้อยากทำในสิ่งที่ดี ที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติ
5. เพื่อสันทนาการและการพักผ่อนหย่อยใจ
ผู้ที่เคร่งเครียดกับงานและการศึกษา อาจมาใช้ห้องสมุดเพื่อการพักสมองให้คลายความเคร่งเครียด

ที่มาhttp://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-4355.html

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 6

ห้องสมุด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

ชั้นวางหนังสือในห้องสมุดห้องสมุด คือแหล่งสารนิเทศ บริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค วัสดุเทปและโทรทัศน์ CD-ROM DVD VCD รวมถึงไมโครฟิล์มด้วย โดยมีบรรณารักษ์ เป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารงานต่างๆ ในห้องสมุด โดยจัดระบบเป็นหมวดหมู่ และระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุด มีความสะดวกสืบค้นได้ง่าย ตรงกับความต้องการ

ห้องสมุดในปัจจุบัน ทำหน้าที่เก็บรวบรวม จัดระบบ เพื่อให้บริการสื่อสารนิเทศต่างๆ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหาและดำเนินการให้บริการสื่อต่างๆ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ห้องสมุด

ห้องสมุด ยังมีคำเรียกต่างๆ อีกมากมาย อาทิ ศูนย์ข้อมูล, ศูนย์วัสดุ, ศูนย์วัสดุการศึกษา, สถาบันวิทยบริการ, ศูนย์เอกสาร และ ศูนย์สารนิเทศ เป็นต้น

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ความสำคัญของห้องสมุด
2 บทบาทของห้องสมุด
3 วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
4 ระบบรหัสที่ใช้จัดเก็บหนังสือ
5 ดูเพิ่ม
6 อ้างอิง
7 แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] ความสำคัญของห้องสมุด
ห้องสมุดมีความสำคัญมากต่อบุคคลทั้งหลาย เป็นที่รวมวิทยาการต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลความรู้ได้กว้างขวาง ทุกสาขาวิชา

ห้องสมุดยังเป็นสถานที่ที่ผู้ใช้สามารถเลือกอ่านหนังสือ และค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเอง อย่างอิสระ และ ตามความสนใจของแต่ล่ะบุคคล และยังเป็นสถานที่ ที่ทำก่อให้เกิดนิสัยรักการอ่านและการค้นคว้า จนกระทั่งทำให้ผู้ใช้ สามารถมองเห็นความแตกต่างของหนังสือ ว่าเล่มไหนเขียนได้ดี และสามารถจดจำแนวทางการเขียนที่ดี เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ได้ ทั้งยังช่วยให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ห้องสมุด ยังเป็นศูนย์ข้อมูล มีความรู้ที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ เพราะห้องสมุดจำเป็นต้องมีข่าวสารใหม่ๆ ไว้บริการผู้ใช้

[แก้] บทบาทของห้องสมุด
ห้องสมุด มีบทบาทต่อบุคคลต่างๆ มากมาย ซึ่งห้องสมุด สามารถทำประโยชน์ต่อสังคมในด้านต่างๆ

ด้านการศึกษา ห้องสมุดเป็นแหล่งความรู้ที่ นักเรียน นักศึกษา สามารถค้นหาความรู้ด้วยตนเอง โดยห้องสมุดมีบทบาท ในการเสริมความรู้ และสนันสนุนการศึกษาในระบบ และให้โอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ได้ใช้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาอาชีพให้ทันกับวิทยาการ และเทคโนโลยี ให้แก่ผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าศึกษาในโรงเรียน หรือผู้ที่ได้สำเร็จการศึกษาแล้ว
ด้านวัฒนธรรม ห้องสมุดเป็นที่บำรุงรักษาวัฒนธรรมของชาติ ให้สืบทอดไปยังอนุชนรุ่นต่อไป เนื่องจากห้องสมุด เป็นแหล่งที่จัดเก็บข้อมูลทางด้านสารนิเทศ ซึ่งส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ และสามารถใช้บ่งบอกความเจริญก้าวหน้าของประเทศนั้นๆ อีกด้วย
[แก้] วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
วัตถุประสงค์หลักทั่วไปของห้องสมุดมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ ดังนี้

1.เพื่อการศึกษา - การใช้ห้องสมุด เป็นหัวใจของการศึกษา เพราะห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ สามารถให้ผู้คน รู้จักศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้เพิ่มเติมจากที่ร่ำเรียน ไม่ว่าจะเป็น นักเรียนอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา รวมไปถึงผู้ที่จบการศึกษาแล้ว ประชาชนทั่วไป สามารถใช้ห้องสมุดศึกษาหาความรู้ได้ตลอดชีวิต
2.เพื่อให้ความรู้และข่าวสาร - ทุกวันนี้วิทยาการต่างๆ ก้าวไปอย่างรวดเร็ว ห้องสมุดเป็นสถานที่สำหรับศึกษาวิทยาการต่างๆ และติดตามข่าวความเคลื่อนไหวทั้งภายในและภายนอกประเทศทั่วโลก ทัให้คนรู้จักข่าวคราว ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่วยพัฒนาประเทศต่อไป
3.เพื่อใช้ในการค้นคว้า - ในห้องสมุด มีสารนิเทศมากมาย เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ เหมาะสำหรับเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัย จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเบื้องต้นจากเรื่องที่มีอยู่แล้ว
4.เพื่อจรรโลงใจมนุษย์ - การอ่านหนังสือ นอกเสียจากการได้ความรู้แล้ว ยังทำให้ผู้อ่านมีความสุขได้อีกด้วย เนื่องจากความซาบซึ้งในความคิดที่ดีงาม ให้ความจรรโลงใจในสิ่งที่ดีแก่ผู้อ่าน ก่อให้เกิดแรงบรรดาลใจ ให้ทำประโยชน์ต่อสังคม เช่น การอ่านหนังสือธรรมะ ทำให้ซาบซึ้งถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หนังสือวรรณกรรม วรรณคดี ทำให้เกิดจินตนาการ
5.เพื่อนันทนาการ - นอกจากการอ่านหนังสือวิชาการแล้ว ห้องสมุดยังเป็นสถานที่ในการพักผ่อนหย่อนใจ เพราะห้องสมุด ยังมีหนังสือประเภทต่างๆ เพื่อให้ความบันเทิงเบาสมอง เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น นิตยสาร เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และปลูกสำนึกรักการอ่าน รู้จักอ่านหนังสืออย่างมีวิจารณญาณ


ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94

ส่งงาน e-book

http://www.ebook.com/ebooks/Adventure_Fiction/Daniel_X_Demons_and_Druids

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 5

ความหมายของห้องสมุด

ห้องสมุด หมายถึง สถานที่รวบรวมสรรพวิทยาการต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ในรูปแบบหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ ต่าง ๆ หรืออุปกรณ์โสตทัศนวัสดุและมีการจัดไว้อย่างเป็นระบบ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในการค้นคว้า

ประโยชน์ของห้องสมุด

1. เป็นสถานที่ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม

2. เป็นสถานที่ ที่ผู้ใช้บริการจะเลือกหนังสือที่อ่านได้ตามความสนใจ

3. ช่วยให้ผู้ใช้บริการเป็นคนทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

4. ช่วยให้ผู้ใช้บริการรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

5. ช่วยให้ผู้ใช้บริการมีนิสัยรักการอ่าน

6. ฝึกให้ผู้ใช้บริการรู้จักรับผิดชอบในสาธารณสมบัติ

ที่มา http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-4354.html

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เรื่อง รถจักรยานไฟฟ้า

คลิกที่นี้

ส่งโปรเจ็กคับ

คลิกที่นี้คับ

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 4

กิจกรรมห้องสมุดดีเด่น

หลังจากได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จนในปี พ.ศ 2543 ได้รับยกย่องให้เป็นสมุดดีเด่นระดับ เขตการศึกษา 3 (ของเดิม) ขณะเดียวกันกับที่เกิดการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ของมนุษย์ให้ทันสถานการณ์ของโลก ผู้เรียนจะต้องมีทักษะในการศึกษาหาความรู้ ได้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ

ห้องสมุดจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ผู้เรียนต้องใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งผู้ เรียนต้องเข้าใจระบบการใช้บริการห้องสมุดอย่างชัดเจนเท่านั้น จึงจะสามารถศึกษาค้นคว้าได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการ

ห้องสมุดโรงเรียนวัดหนองสมัคร ได้เปิดให้บริการ เช่น เน้นให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่1 ถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2544 ถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้ผู้เรียนเข้ามาฝึกใช้บริการ ควบคู่กับความรู้จากทฤษฎีอย่างจริงจัง

จนเห็นผลได้ชัดว่าผู้ เรียน นำความรู้ที่ได้ฝึกมาเข้าใช้บริการ ห้องสมุดมากขึ้น มีมารยาทการใช้รู้จักใช้สิ่งที่ตีพิมพ์ต่างๆอย่างระมัดระวัง ช่วยกันดูแลรักษาเข้รร่วมกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ อย่างเต็มใจและมีความสุขเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างหลากหลาย ซึ่งปรากฎในข้อมูล สถิติ ต่างๆที่ทางห้องสมุดได้บันทึกไว้ ทำให้บรรลุถึงจดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ พุทธศาสนา 2542 ที่มุ่งหวังได้

ที่มา http://watnongsamak.tripod.com/index19.htm

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 3

ห้องสมุดคนตาบอดแห่งชาติ
เขียนโดย ick
วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน 2551 เวลา 11:04 น.

ห้องสมุดคนตาบอดและผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์แห่งชาติ มูลนิธิคนตาบอดไทย
ขุมทรัพย์ทางปัญญาและความบันเทิงสำหรับคนตาบอด

ห้องสมุดคนตาบอดและผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์แห่งชาติเป็นสถานที่ ผลิตหนังสือเสียง เพิ่อการศึกษาของคนตาบอด ตั้งแต่ระดับ ประถม ถึง มหาวิทยาลัย รวมทั้งหนังสือความรู้ทั่วไป บันเทิง สารคดี ฯลฯ ซึ่งหนังสือนั้นถือเป็น ปัจจัยที่ 5 ของคนตาบอด หนังสือจึงเป็น เสมือนหนึ่งขุมทรัพย์ทางปัญญา และคลังแห่งความบันเทิง สำหรับมวลมนุษย์ชาติ แต่เนื่องจาก หนังสือเกือบทั้งหมด ได้รับการผลิตออกมาในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำหรับคนตาบอด ในการที่จะได้รับประโยชน์นานาประการจากหนังสือ ซึ่งได้มีผู้ค้นหาหนทางแก้ไขความ จำกัดข้อนี้ตลอดมา

ห้องสมุดแถบเสียงในประเทศไทย
ในปี พ.ศ.2520 ได้มีการเปิดดำเนินการและให้บริการในลักษณะของห้องสมุดสำหรับคนตาบอดแห่งแรกขึ้นในประเทศไทย ซึ่งขณะนั้นได้อาศัยเนื้อที่ส่วนหนึ่งของศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอดปากเกร็ด นนทบุรี อันเป็นหน่วยงานหนึ่งของมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นสถานที่ดำเนินการและให้ บริการ ต่อมาห้องสมุดดังกล่าวนี้ได้แยกออกมาดำเนินการเป็นอิสระในหน่วยงานหนึ่ง ภายใต้การดูแลของมูลนิธิ ช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ฯ เช่นกัน โดยใช้ชื่อว่า "ห้องสมุดคอลฟิลด์เพื่อคนตาบอด" ผลิตและให้บริการ หนังสือทั้งที่เป็นหนังสือเสียงและหนังสืออักษร Braille เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2525 ปัจจุบันตั้ง อยู่ ณ เลขที่ 78/2 ถนนติวานนท์ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี แต่เนื่องจากคนตาบอดเริ่มได้รับ การศึกษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพมากขึ้น ความต้องการที่จะได้อ่านหนังสือต่าง ๆ ทั้งเพื่อการศึกษาหาความรู้และ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจก็มีปริมาณมากขึ้นด้วยเช่นกัน สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยจึงได้เห็นชอบที่จะก่อตั้ง และเปิดบริการห้องสมุดสำหรับคนตาบอดขึ้นเป็นแห่งที่ 2 โดยผลิตและให้บริการเฉพาะหนังสือเสียงในปี พ.ศ.2526 ทางสมาคม ฯ ได้รับการตอบตกลงให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์เป็นมูลค่าประมาณ 100,000 มาร์ค จาก สหพันธ์ทหารผ่านศึกแห่งประเทศเยอรมัน และรัฐบาลท้องถิ่นแห่งรัฐบาร์เดน วีตเตมเบอร์ก ของสาธารณรัฐเยอรมัน โดยมีเงื่อนไขว่าสมาคม ฯ จะต้องจัดหาสถานที่ซึ่งจะใช้เป็นที่ตั้งของห้องสมุดให้เรียบร้อย ทางสมาคม ฯ ได้ติดต่อขอ รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย ซึ่งขณะนั้นมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้จัดสรรงบ ประมาณจำนวน 1.7 ล้านบาท เพื่อจัดซื้ออาคารขนาด 2 คูหา เนื้อที่ 85 ตารางวา ซึ่งตั้งอยู่ ณ เลขที่ 85/1-2 ซอยบุญ อยู่ ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ ฯ มอบให้สำหรับเป็นที่ตั้งของห้องสมุดและที่ทำการของสมา คม ฯ มาจนถึงปัจจุบัน ห้องสมุดแถบเสียงสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยจึงได้เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2529

ที่มา http://www.daisythailand.org/index.php?option=com_content&view=article&id=68:thailand-blind-library-brochure&catid=47:interesting-document&Itemid=64

วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2

ระบบห้องสมุดอัจฉริยะ RFID โดยบริษัท เป็นหนึ่ง โฮลดิ้ง จำกัด
Patron Self Check-Out SystemBook Drop UnitStaff Station ReaderSensor GatesInventory Portable ReaderCirculation CircuitCirculation Circuit ProgrammerILS Controller

ระบบห้องสมุดอัจฉริยะหมายถึงระบบยืม-คืนอัตโนมัติ พร้อมประตูอิเล็กทรอนิกส์ตรวจจับมือดีฉกหนังสือออกจากห้องสมุด ช่วยประหยัดเวลาสมาชิก ยืม-คืน บรรณารักษ์ตรวจนับและจัดหนังสือเข้าที่ง่าย ระบบห้องสมุดอัจฉริยะมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไป คือ มีเครื่องยืม-คืน หนังสืออัตโนมัติให้สมาชิก ทำการยืมได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องผ่านบรรณารักษ์ ซึ่งการยืมหนังสือและสื่อต่างๆ โดยทำผ่านทางเครื่องยืม-คืนอัติโนมัติ จอคอมพิวเตอร์แบบสัมผัส ที่แนะนำ ขั้นตอนและวิธีการยืมที่ใช้งานง่าย เพียงแค่ใช้บัตร เช่น สมาร์ทการ์ด แถบแม่เหล็ก บาร์โค้ด นำไปสแกนรหัสและหยิบหนังสือที่ยืมวางลงบนแท่นยืมของเครื่อง โดยให้บริการยืมหนังสือ ได้ครั้งละ 1-30 เล่ม จากนั้นเครื่องพิมพ์จะทำการพิมพ์ใบยืนยันการยืม ให้โดยอัตโนมัติ โดยใบยืมดังกล่าวจะบอกถึง ชื่อหนังสือ วันเวลาที่ยืม และวันกำหนดคืนหนังสือ

ขณะเดียวกัน เมื่อสมาชิกนำหนังสือออกจากห้องสมุด ก็ต้องผ่านประตูชุดเซ็นเซอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นยามเฝ้าทางเข้า-ออก ห้องสมุด คอยตรวจเช็คหนังสือว่าได้ผ่านการยืมอย่างถูกต้องหรือไม่ หากสมาชิกเผลอหยิบหนังสือออกไป โดยไม่ได้ยืมหรือมีการขโมยหนังสือ จะส่งผลให้สัญญาณไฟ ที่ติดตั้งไว้บริเวณประตูกะพริบ และมีสัญญาณเสียงเตือนสมาชิก และบรรณารักษ์ แม้ว่าจะเก็บหนังสือไว้ในกระเป๋า หรือซุกซ่อนไว้อย่างมิดชิดก็ตาม

การคืนหนังสือสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว โดยสมาชิกสามารถนำหนังสือมาคืนห้องสมุดได้ที่ช่องชุดรับคืนหนังสือ โดยเพียงแค่นำหนังสือวางลงบนเครื่องอ่านรหัสที่ติดตั้งไว้ เมื่อเครื่องดังกล่าวอ่านรหัสหนังสือจากแผงวงจรคลื่นความถี่วิทยุ จากนั้นจะออกใบยืนยันการคืนให้โดยอัตโนมัติ อีกทั้งหมวดหมู่และลำดับที่ของหนังสือไว้ให้เรียบร้อย เพื่อให้บรรณารักษ์หยิบหนังสือไปเก็บเข้าชั้นหนังสือได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

สำหรับในการตรวจนับสต๊อคหนังสือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดสามารถใช้อุปกรณ์เช็คสต๊อคมือเก็บรวบรวมเลขรหัสของหนังสือและสื่อต่างๆได้ถึง 30,000 เล่มต่อชั่วโมง แล้วถ่ายข้อมูลลงสู่เครื่องบรรจุข้อมูลหลักของระบบห้องสมุดอัจฉริยะ ซึ่งวิธีนี้ช่วยให้บรรณารักษ์นับจำนวนหนังสือได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว รวมทั้งยังช่วยตรวจสอบว่า หนังสือเล่มใดถูกเก็บผิดชั้น ผิดประเภทด้วย

อุปกรณ์หลักของระบบห้องสมุดอัจฉริยะ คือ แผงวงจรคลื่นความถี่วิทยุ เป็นหัวใจสำคัญของห้องสมุด เพราะทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณและเก็บรหัส หนังสือแทนบาร์โค้ดโดยไม่แสดงแท่งรหัสให้เห็น เป็นแผงวงจรบางเท่ากระดาษ ขนาด 2X2 นิ้ว ประกอบด้วย แผงวงจรรวม (IC) และตัวรับสัญญาณ RF ผู้ทำหน้าที่บรรณารักษ์สามารถติดแผงวงจรเอง หรือให้โรงพิมพ์ติดในขั้นตอนพิมพ์หนังสือ ข้อมูลจะถูกส่งในรูปคลื่นความถี่วิทยุจากแผงวงจรไปยัง คอมพิวเตอร์ของระบบห้องสมุดอัจฉริยะที่อยู่ในห้องสมุด ซึ่งสามารถอ่านข้อมูลจากแผงวงจรหลายๆ แผงได้พร้อมกัน และเก็บข้อมูลหนังสือได้ถึง 96 บิต

ห้องสมุดทั่วๆ ไปสามารถนำระบบห้องสมุดอัจฉริยะเข้าไปติดตั้งได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลและรหัสบาร์โค้ดเดิม แต่จะต้องใช้ระบบ Protocal แบบ SIP2 จึงเชื่อมกับระบบห้องสมุดอัจฉริยะได้

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 1

July 4, 2010
Sustainability at Library Juice Press
I’d like customers to know that books from Library Juice Press are printed by a company with “Chain of Custody” certifications aimed ensuring sustainable practices in paper production. The certifications come from The Forest Stewardship Council™ (FSC®), the Programme for the Endorsement of Forest Certification™ (PEFC™), and The Sustainable Forestry Initiative® (SFI®).
Forest Stewardship Council™ (FSC®) The FSC® Council is a non-profit organization, promoting the environmentally appropriate, socially beneficial and economically viable management of the world’s forests. FSC® certification is recognized internationally as a rigorous environmental and social standard for responsible forest management.
Sustainable Forestry Initiative® (SFI®) The Sustainable Forestry Initiative is an independent, internationally recognized non-profit organization responsible for the SFI certification standard, the world’s largest single forest certification standard. The SFI program is based on the premise that responsible environmental behavior and sound business decisions can co-exist to the benefit of communities, customers and the environment, today and for future generations.
Programme for the Endorsement of Forest Certification™ (PEFC™) The PEFC™ Council is an independent , non-profit, non-governmental organization, founded in 1999, which promotes sustainability-managed forests through independent third party certification. The PEFC™ provides an assurance mechanism to purchasers of wood and paper products ensuring they are promoting the sustainable management of forests.

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ระบบไฟฟ้า

ระบบไฟฟ้า หมายถึงลักษณะการส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าจากแหล่งกำนิดไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า ตามประเภทการใช้งาน โดยส่งจากสถานีไฟฟ้าผ่านสายไฟฟ้าแรงสูง สถานีไฟฟ้าย่อย หม้อแปลงแปลงไฟฟ้าให้ต่ำลง ไปยังบ้านพักอาศัย สำนักงาน หรือโรงงานอุตสาหกรรม
ระบบไฟฟ้าแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ ดังนี้

1. ระบบไฟฟ้า 1 เฟส คือระบบไฟฟ้าที่มีสายไฟฟ้าจำนวน 2 เส้น เส้นที่มีไฟเรียกว่าสายไฟหรือสายเฟส หรือสายไลน์ เขียนแทนด้วยตัวอักษร L (Line) เส้นที่ไม่มีไฟเรียกว่าสายนิวทรอล หรือสายศูนย์ เขียนแทนด้วยตัวอักษร N (Neutral) ทดสอบได้โดยใช้ไขควงวัดไฟ เมื่อใช้ไขควงวัดไฟแตะสายเฟส หรือสายไฟ หรือสายไลน์ หลอดไฟเรืองแสงที่อยู่ภายไขควงจะติด สำหรับสายนิวทรอล หรือสายศูนย์ จะไม่ติด แรงดันไฟฟ้าที่ใช้มีขนาด 220 โวลท์ (Volt) ใช้สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่มากนัก
2. ระบบไฟฟ้า 3 เฟส คือระบบไฟฟ้าที่มีสายเส้นไฟจำนวน 3 เส้น และสายนิวทรอล 1 เส้น จึงมีสายรวม 4 เส้น ระบบไฟฟ้า 3 เฟส สามารถต่อใช้งานเป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส ได้ โดยการต่อจากเฟสใดเฟสหนึ่งและสายนิวทรอลอีกเส้นหนึ่ง แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเฟสเส้นใดเส้นหนึ่งกับสายนิวทรอลมีค่า 220 โวลท์ และแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเฟสด้วยกันมีค่า 380 โวลท์ ระบบนี้จึงเรียกว่าระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย 220/380 โวลท์ ระบบนี้มีข้อดีคือสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าระบบ 1 เฟส ถึง 3 เท่า จึงเหมาะสมกับสถานที่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้ามากๆ เช่น อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เป็นต้น